แม้ว่าสหราชอาณาจักรมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะที่เอื้อต่อการทำประมง แต่การทำประมงของ สหราชอาณาจักรมีผลผลิตไม่เพียงพอ เนื่องจากมีข้อจำกัดโควตาในการทำประมงภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรป เพื่อรักษาแหล่งกำเนิดสายพันธุ์และปริมาณสัตว์ ในขณะเดียวกันสินค้าประมงที่ผลิตได้ภายในประเทศส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ปลาแซลมอล กุ้งล็อบสเตอร์ และหอยเชลล์ซึ่งสินค้าดังกล่าวมีมูลค่าสูงในตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้สหราชอาณาจักรมีการนำเข้าสินค้าปลาและอาหารทะเลจากต่างประเทศ

1. ภาวะการนำเข้าอาหารทะเลของสหราชอาณาจักร

1.1 ในปี 2559 (ม.ค. – พ.ค. 59) สหราชอาณาจักรนำเข้าสินค้าปลาและอาหารทะเลจากโลก มีมูลค่า 1,121.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้านำเข้าสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ ปลาแปรรูปโดยการแล่และตัดเป็นชิ้น ประเภทปลาแซลมอน และปลา ทูน่า ปลาแช่เย็นแช่แข็ง และกุ้งแช่แข็ง 1.2 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ (ร้อยละ 14) Faroe Islands (ร้อยละ 12) จีน (ร้อยละ 9) สวีเดน (ร้อยละ 6) นอร์เวย์ (ร้อยละ 5) และไทยอยู่ในลำดับที่ 23 ที่ร้อยละ 1.15

ตารางที่ 1 สหราชอาณาจักรนำเข้าปลาและอาหารทะเล ในช่วงเดือน ม.ค. –พ.ค. 2559

table1inside1

table2inside1

ที่มา: World Trade Atlas

1.2 สำหรับสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ในปี 2559 (ม.ค. – พ.ค. 59) สหราชอาณาจักรนำเข้าสินค้าดังกล่าวมีมูลค่า 175.05 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 16.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
โดยมีแหล่งนำเข้าหลักจากซีเชล (ร้อยละ 17) กานา (ร้อยละ 16) เมอร์ริเชียส (ร้อยละ 15) ไทย (ร้อยละ 10) และเอกวาดอร์ (ร้อยละ 9)

ตารางที่ 2 สหราชอาณาจักรนำเข้าสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ในช่วงเดือน ม.ค. –พ.ค. 2559

table3inside1

table4inside1
2.1 สหราชอาณาจักรถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่สำคัญของไทยเป็นอันดับ 7 ของตลาดส่งออกทั้งหมด ในปี 2559 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยส่งออกสินค้าอาหารทะเลฯ มายัง สหราชอาณาจักร คิดเป็นมูลค่า 40.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยรายการสินค้าที่สำคัญได้แก่ ทูน่ากระป๋อง กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง ปลาแปรรูป และอาหารทะเลอื่นๆ ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารทะเลไทยมายังสหราชอาณาจักรปี 2559 (มค.-พ.ค.)

table5inside1

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

 

2.2 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกมายังสหราชอาณาจักรสูงเป็นอันดับ 6 ของตลาดส่งออกทั้งหมด โดยในปี 2559 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 10.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.62 คู่แข่งสำคัญของไทย ได้แก่ อินเดีย (ร้อยละ 21.61) บังคลาเทศ (ร้อยละ 21.03) เวียดนาม (ร้อยละ 9.65) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 6.47) โดยไทยมีสัดส่วนการส่งออกเป็นอันดับ 6 ที่ร้อยละ 5.169

2.3 สินค้ากุ้งไทยประสบภาวะการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสินค้าจากประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอินเดีย ศรีลังกา และเวียดนาม ซึ่งมีราคาต่ำกว่า แม้ว่าคุณภาพมาตรฐานของกุ้งไทยเป็นที่ยอมรับมากกว่าก็ตาม นอกจากนี้ ตลาดสหราชอาณาจักรยังให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสังคม การใช้แรงงาน และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยสินค้ากุ้งเป็นหนึ่งในสินค้าอาหารทะเลที่ถูกกล่าวหาว่ามีการใช้แรงงานบังคับในการจับปลาป่น เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารกุ้ง

 

  1. ช่องทางการจำหน่าย

3.1 สหราชอาณาจักรมีบริษัทผู้นำเข้าอาหารทะเลและผลิตอาหารกระป๋องรายใหญ่เพื่อจำหน่ายภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้าของตนเอง เช่น John West Foods Ltd. เป็นผู้นำด้านปลาแซลมอนกระป๋อง  Glenryck (UK) Ltd. ที่มีส่วนแบ่งในส่วนของปลา Pilchards กระป๋องถึงร้อยละ 90  Princes Foods Ltd. ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 40 ของปลา Mackerel กระป๋อง รวมทั้ง Gerber Foods International Ltd. ที่เป็นผู้ผลิตและนำเข้ารายใหญ่อีกรายหนึ่ง

3.2 ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ๆที่เป็นลักษณะของ Chain Store หรือ Multiple Retailers โดยเฉพาะห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ 5 ราย คือ Tesco, Sainsbury, Morrisons, ASDA, Marks & Spencer, Waitrose, ALDI,  LIDL ซึ่งมีการหันมานำเข้าเพื่อทำการจำหน่ายโดยใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าของตนเองมากขึ้น โดยการจำหน่ายสินค้าภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้าของห้างซุปเปอร์มาณเก็ตรายใหญ่เหล่านี้ สามารถสั่งซื้อและสต็อกสินค้าได้ในปริมาณมาก ทำให้สามารถตั้งราคาจำหน่ายที่ค่อนข้างต่ำ รวมทั้งการใช้กลยุทธ์ในการขยายเครือข่ายการจำหน่ายปลีกอย่างกว้างขวางและครอบคลุมพื้นที่ตามเมืองต่างๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

3.3 ผู้นำเข้าที่จำหน่ายสินค้าอาหารเอเชียหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตเอเชีย เช่น Wing Yip, New Loon Moon จะเป็นผู้นำเข้าในลักษณะที่สั่งซื้อเข้าไปจำหน่ายในร้านของตนเองและจำหน่ายปลีกให้กับร้านขนาดกลางและขนาดเล็ก

 

  1. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำนักงานฯ

4.1 สหราชอาณาจักรถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะทูน่ากระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และยังเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง โดยในปี 2015 ร้อยละ 97 ของครัวเรือนทั้งหมดในสหราชอาณาจักรมีการใช้จ่ายซื้อสินค้าอาหารทะเล คิดเป็นมูลค่า 6,300 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า จึงเป็นที่คาดหมายว่าการบริโภคอาหารทะเลในสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะจากการที่ประชาชนผู้บริโภคได้หันมานิยมอาหารที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของสินค้าอาหารทะเลของไทยที่จะขยายมูลค่าการส่งออกมายังตลาดสหราชอาณาจักรได้มากขึ้น

4.2 ผู้บริโภคชาวอังกฤษมีความนิยมสินค้าที่มีคุณภาพ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้มีแนวโน้มความต้องการบริโภคสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว อาหารประเภทกึ่งปรุงสำเร็จ (Snack or Light Meal) และอาหารพร้อมรับประทาน(Ready Meal or Ready to Eat) เพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยจึงควรพัฒนาสินค้าอาหารทะเลและประมงให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักร

4.3 การนำเข้าสินค้าปลาและอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปมายังสหราชอาณาจักรมีกฎระเบียบด้านมาตรฐานการนำเข้าสินค้าอาหารภายใต้สหภาพยุโรปที่มีความเข้มงวด ดังนั้น การยกระดับคุณภาพสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลเป็นประเด็นที่ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

4.4  จากการที่ไทยหมดสิทธิพิเศษทางภาษี GSP จาก EU ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าอาหารทะเลของไทย เนื่องจากภาษีของสินค้าดังกล่าวมีอัตราสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศคู่แข่งของไทย เช่น เวียดนาม อินเดียยังคงได้รับสิทธิดังกล่าว ซึ่งราคาสินค้าถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้นำเข้า หากราคาสินค้าไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ผู้นำเข้าก็จะหันไปนำเข้าจากแหล่งอื่นที่มีราคาต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม จากผลการลงประชามติที่สหราชอาณาจักรต้องการถอนตัวจากสมาชิก EU (Brexit) อาจเป็นโอกาสให้ไทยส่งออกสินค้าอาหารทะเลมายังสหราชอาณาจักรได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มปรับนโยบายนำเข้าที่ไม่อิงโควตา EU การผ่อนคลายกฎระเบียบการนำเข้าของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ ไทยสามารถที่จะหยิบยกประเด็น/เจรจาเรื่องการขยายการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของไทยกับสหราชอาณาจักรได้โดยตรง อาทิ การลดอัตราภาษีนำเข้า และการผ่อนคลายกฎระเบียบการนำเข้า เป็นต้น

4.5 ภาคธุรกิจ ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงผู้บริโภคสหราชอาณาจักรให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสังคม การใช้แรงงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจของผู้ส่งออกสินค้ามาขายยังตลาดสหราชอาณาจักรเป็นอย่างมาก ซึ่งภาพลักษณ์ดังกล่าวมีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อ/เลือกซื้อสินค้าของห้างค้าปลีก/ผู้บริโภค ดังนั้น ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยจึงควรสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจ ผู้นำเข้า ผู้บริโภคของสหราชอาณาจักรว่าสินค้าอาหารทะเลและประมงของไทยนั้นมีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน มีความเป็นธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยควรพัฒนาการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานและกฎระเบียบสากล รวมทั้งควรเตรียมความพร้อมในการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าดังกล่าว (traceability)

4.6  การแก้ไขปัญหาประมงเถื่อน หรือ IUU ( Illegal, Unreported, Unregulated Fishing) เป็นประเด็นท้าทายสำคัญหนึ่งที่มีผลต่อการส่งออกสินค้าทะเลของไทยมายังสหราชอาณาจักร ซึ่งสะท้อนจากการที่ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำของสหราชอาณาจักร ได้แก่ Waitrose, Sainsbury และ Tesco ได้นำสินค้าปลาทูน่ากระป๋องภายใต้แบรนด์ John West ซึ่งมีบริษัท Thai Union เป็นเจ้าของ ออกจากชั้นวางจำหน่ายของห้าง เนื่องจากพบว่าวิธีการจับปลาทูน่าของสินค้าดังกล่าวขัดกับแนวปฏิบัติการทำประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งสร้างความเสียหายและทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้น ไทยควรสร้างความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณ์ที่ดีของอุตสาหกรรมประมงไทยและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะกรอบการทำงานที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม

4.7 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติให้แก่ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเล เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งจะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณการค้าให้แก่บริษัทเพื่อให้สามารถนำแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานมาปรับใช้ในองค์กรธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานของตน

4.8 การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกอาหารไทยในตลาดสหราชอาณาจักร เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและประชาสัมพันธ์สินค้าของไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดสหราชอาณาจักรมากขึ้น อาทิ กิจกรรมการส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้า/ผู้นำเข้าร่วมกับห้างสรรพสินค้าของสหราชอาณาจักร การจัดคณะผู้ซื้อจากห้างซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้าด้านอาหาร (ThaiFex) การนำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าด้านอาหารที่จัดขึ้นทั้งในสหราชอาณาจักร เช่น International Food Exposition (IFE) เพื่อศึกษาทิศทางและแนวโน้มของตลาด รวมถึงการประชาสัมพันธ์เผยแพร่และส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าไทยในงานแสดงสินค้าไทยตามเมืองสำคัญต่างๆ ในสหราชอาณาจักร

 

แหล่งข้อมูล: