เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 เวลา 14.00 น. นายมาร์ค การ์นิเยร์ (Mr. Mark Garnier) ผู้แทนพิเศษด้านการค้าของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทาเนียบรัฐบาล โดยมีสาระสาคัญการหารือโดยสรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีที่นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรได้แต่งตั้งผู้แทนฯ ที่มีความรู้และประสบการณ์สูงเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สหราชอาณาจักรมีพลวัตเชิงบวก โดยฝ่ายไทยขอให้มีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ระดับสูง พร้อมยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการนาพาประเทศกลับสู่ประชาธิปไตย ซึ่งจะจัดให้มีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในเดือนสิงหาคม 2559 และจัดการเลือกตั้งในปี 2560 ตาม Roadmap ทั้งนี้ รัฐบาลมีความจริงใจที่จะปฏิรูปประเทศไทยและอยู่ระหว่างแก้ไขกฎระเบียบที่ล้าสมัยหรือไม่เอื้อต่อการลงทุน
ด้านเศรษฐกิจ ผู้แทนพิเศษด้านการค้าฯ เห็นว่าไทยยังคงมีศักยภาพ และมีข้อได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน พร้อมกล่าวว่านักลงทุนสหราชอาณาจักรสนใจที่จะขยายการลงทุนในไทย และใช้ไทยเป็นประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังคงเข้มแข็ง และมีพัฒนาการทางบวกอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้รัฐบาลได้กาหนดให้เป็นปีแห่งการส่งเสริมการลงทุน และมีมาตรการจูงใจด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หลายโครงการ โอกาสนี้ได้เชิญชวนให้ภาคเอกชน สหราชอาณาจักรเข้ามาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล อาทิ การพัฒนาระบบราง การบริหารจัดการทรัพยากรน้า เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้แทนพิเศษด้านการค้าฯ หวังให้รัฐบาลไทยผลักดันการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อภาคเอกชนสหราชอาณาจักร เช่น พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business Act) และประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงกรณีสัมปทานการก่อสร้างคลังน้ามัน ทั้งนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ารัฐบาลรับทราบข้อห่วงใยดังกล่าว และไม่ได้เพิกเฉยต่อข้อกังวลของภาคเอกชนในเรื่องนี้ โดยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคต่อบรรยากาศทางธุรกิจ
ด้านการค้า การลงทุน ผู้แทนพิเศษด้านการค้าฯ ยินดีส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนใน สหราชอาณาจักรมากขึ้น โดยเฉพาะนอกกรุงลอนดอนตามนโยบาย Northern Powerhouse ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร และกล่าวถึงกรณีบริษัท Rolls Royce สนใจที่จะมาลงทุนในไทย โดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางฐานซ่อมบารุงและทดสอบอากาศยานในภูมิภาค ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าการลงทุนระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรขยายตัวทั้งสองทิศทาง โดยมูลค่าการลงทุนของไทยในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างมาก พร้อมขอให้รัฐบาล สหราชอาณาจักรสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนไทยในสหราชอาณาจักรด้วย นายกรัฐมนตรีหวังให้มีความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน ซึ่งเป็นสาขาที่ไทยและสหราชอาณาจักรสามารถเพิ่มพูนการค้าการลงทุนเพื่อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย รวมถึงการขอให้สนับสนุนเรื่อง Timeslot เที่ยวบินที่สองของการบินไทยที่ท่าอากาศยาน Heathrow ซึ่งลดเหลือ 5 วันให้กลับมาให้บริการทุกวัน
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความขอบคุณที่ฝ่ายสหราชอาณาจักรจะสนับสนุนให้ EU กลับมาเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (Thai-EU FTA) กับไทย ซึ่งรัฐบาลไทยพร้อมจะประสานกับคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (DG Trade) และฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเจรจาฯ ต่อไป
ด้านการศึกษา ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่การศึกษาระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรมีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยที่กระทรวงศึกษาธิการกาลังจะลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อส่งเสริมหุ้นส่วนกับฝ่ายสหราชอาณาจักรในเร็วๆ นี้ ซึ่งผู้แทนพิเศษด้านการค้าฯ ยินดีสนับสนุนความร่วมมือในด้านการศึกษา ซึ่งนับเป็นสิ่งสาคัญในการเสริมสร้างสายสัมพันธ์ระดับประชาชนของทั้ง
สองประเทศ
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผู้แทนพิเศษด้านการค้าฯ กล่าวว่าสหราชอาณาจักรยินดีเข้ามาสนับสนุนความร่วมมือในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาขีดความสามารถและการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการตรวจลงตรา (วีซ่า) ฝ่ายไทยขอให้สหราชอาณาจักรพิจารณาทบทวนมาตรการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่เข้มงวด เป็นอุปสรรคต่อนักเรียน / นักศึกษาไทยที่จะเดินทางไปศึกษา รวมทั้งปัญหาร้านอาหารไทยใน สหราชอาณาจักรซึ่งปิดทาการจานวนมากเพราะขาดแคลนพ่อครัว/แม่ครัวเนื่องจากปัญหาการตรวจลงตรา
ทั้งนี้ ฝ่ายไทยเชิญนาย Philip Hammond รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรมาร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (ASEAN – EU Ministerial Meeting: AEMM) ที่จะจัดขึ้นระหว่าง 12-14 ตุลาคม 2559
ที่มา : สานักนายกรัฐมนตรี / กระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 4 เมษายน 2559

ผลกระทบต่อการส่งออกไทย/ข้อเสนอแนะ
ในการพบปะหารือและระหว่างนายมาร์ค การ์นิเยร์ (Mr. Mark Garnier) ผู้แทนพิเศษด้านการค้าของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร กับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยในครั้งนี้ นอกจากกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้มีความใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมการค้า การลงทุน

ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรให้เพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะในเรื่องที่ฝ่ายสหราชอาณาจักรจะสนับสนุนให้ EU กลับมาเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (Thai-EU FTA) กับไทย ซึ่งจะทาให้การค้าการลงทุนของทั้ง 2 ฝ่าย มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น

สำหรับสถิติการค้าสินค้าในปี 2558 ไทย – สหราชอาณาจักรมีมูลค่าการส่งออกนาเข้าสินค้ารวมทั้งสิ้น 6,373.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกสินค้าไปยังสหราชอาณาจักรมูลค่า 3,823.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ -4.58 ในขณะที่ไทยนาเข้าสินค้ามูลค่า 2,549.78 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ -8.33 ไทยได้ดุลการค้ามูลค่า 1,273.75 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสหราชอาณาจักรเป็นประเทศคู่ค้าสาคัญของไทยในสหภาพยุโรปมีมูลค่าการค้ารวมมากเป็นอันดับ 2 รองจากเยอรมนี
——————————————
สานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน
4 เมษายน 2559